ความสำคัญของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
• ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
• เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก
• มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
• สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
• สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
• ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
• สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
• สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
• สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย
ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง
• สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง
• ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น
• เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป
วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall (เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ตคล้ายกับศูนย์การค้า) เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย และสินค้าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องประชาสัมพันธ์หรือ Update ข้อมูลต่างๆ โดยวิธีการลงโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้า ทั้งในรูปแบบของการขายส่งและขายปลีก
• สร้าง web Site ของตัวเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้อง Update ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถจัดหน้าร้าน และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ซื้อได้มากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการคิดค่าบริการในการลงโฆษณาสินค้า
ทุกวันนี้ ตลาดออนไลน์ หรือ Market Online จึงเกิดขึ้นมากมาย โดย การสั่งซื้อได้ โดยปลายนิ้วคลิก ก็สั่งซื้อสินค้าได้แล้ว โดย สินค้าที่สั่งซื้อนั้น ราคาถูก กว่าท้องตลาด อีกทั้ง ยังมี ส่วนลด ของแจก ของแถม ฯลฯ การจ่ายเงิน สามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิต เก็บเงินปลายทาง ฯลฯ และส่งสินค้าให้ฟรี ถึงที่บ้าน ที่ทำงาน สินค้าที่สั่งซื้อ หากไม่ตรงตามที่สั่งซื้อสามารถ ส่งคืนได้ มีระบบติดตาม สินค้าที่สั่งซื้อ สินค้าที่ขายกัน บนตลาดออนไลน์ ได้แก่ มือถือ กล้องวงจรปิด ฯลฯ
เพชรบุระดอทคอม
[b]ขนาดและที่ตั้ง[/b]
จังหวัด เพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ ส่วนที่กว้างที่สุดของจังหวัด จากด้านตะวันออกถึงตะวันตก กว้าง 55 ก.ม.ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากเหนือสุดถึงใต้สุด ยาว 296 กม. สูงจากระดับทะเล ประมาณ 114 เมตร อยู่ห่างกรุงเทพ 346 ก.ม. ตามทางหลวงหมายเลข 21
[b]อาณาเขต[/b]
อาณาเขตติดต่อของจังหวัดทั้ง 4 ด้าน
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเลย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ และพิจิตร
[b]ภูมิประเทศ[/b]
สภาพภูมิประเทศทั่วไปของจังหวัด เพชรบูรณ์ ประกอบด้วยภูเขา เพชรบูรณ์ เป็นรูปเกือกม้า รอบพื้นที่ด้านเหนือของจังหวัด เป็นแนวขนานกันไปทั้งสองข้าง ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและอำเภอด้านใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ลาดชันจากเหนือลงใต้ มีพื้นที่ป่าไม้ 3,624,830 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.78 มีแม่น้ำป่าสัก เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของจังหวัด ไหลผ่านตอนกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากภูเขาผาลาในจังหวัดเลย มีห้วยลำธารหลายสายเกิดจากภูเขา เพชรบูรณ์ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมือง เพชรบูรณ์ หนองไผ่ บึงสามพัน วิเชียรบุรี และศรีเทพ
[b]ภูมิอากาศ[/b]
เนื่องจากพื้นที่จังหวัด มีภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอน้ำหนาว เขาค้อ และหล่มเก่า จะมีอากาศหนาวที่สุด และบนพื้นที่ภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนและฤดูฝน จะมีอุณหภูมิ 20-24 องศา ฤดูร้อนเริ่มในเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี
[b]ทรัพยากรธรรมชาติ[/b]
จังหวัด เพชรบูรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลายชนิด ดังนี้
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเชิญ ลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายต่าง ๆ
2. ป่าไม้ในจังหวัด เพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 2,006.51 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่จังหวัด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง สวนรุกขชาติ 3 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง สามารถจำแนกตามเขตการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ได้แก่ เขตเพื่อการอนุรักษ์ เขตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 58.59 28.67 และ 6.67 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพชรบูรณ์
มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ
ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์ [/b][/center] เพชรบูรณ์ หรือเมืองเพชบุระในอดีต เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ อันส่งผลดลบันดาลให้เมือง เพชรบูรณ์ อุดมสมบูรณ์และร่มเย็นเป็นสุขมาตั้งแต่ ครั้งโบราณกาล ภายใต้อิทธิบารมีแห่งบวรพระพุทธศาสนาและองค์สัญลักษณ์นั่นคือ พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ เพชรบูรณ์ จากหลักฐานทางโบราณคดีสองชิ้นสำคัญที่สุดของ เพชรบูรณ์ ชิ้นแรกคือ จารึกลานทองคำที่ พบในเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ได้มีการจารข้อความที่ฝากฝังให้คน เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้พบจารึกดังกล่าวให้ ช่วยกันส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยืนยงสถาพรต่อไป และชิ้นที่สองคือ เสาหลักเมือง เพชรบูรณ์ ที่เป็นศิลาจารึก ก็ได้มีการจารึกข้อความขอให้ชาว เพชรบูรณ์ ได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่จวบจนห้าพันปีให้ได้
เมื่อพุทธศักราช ลุเข้าสู่ปีที่ ๒๕๕๔ ชาว เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว นั่นคือ การประกาศบวรพระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานอย่างมั่นคงบนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ โดยการร่วมกันสร้าง“พระพุทธมหาธรรมราชา เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”
ปฐมบท ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ได้ไปทำบุญวันเกิดและหารือกับท่านเจ้าคุณพระวิสุทธินายก เจ้าอาวาสวัดสนธิกรประชาราม เจ้าคณะจังหวัด เพชรบูรณ์ ฝ่ายธรรมยุต โดยเห็นสมควรร่วมกันว่า จังหวัด เพชรบูรณ์ น่าจะมีการสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่เพื่อเป็นมหาพุ ทธานุสรณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาว เพชรบูรณ์ หลังจากนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ก็ได้หารือบุคคลหลายฝ่ายทั้งคณะสงฆ์ ภาคราชการและภาคเอกชน ซึ่งก็ได้มีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะมีการดำเนินการจัดสร้างและพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินการ ทุกอย่าง โดยเฉพาะนางจงรักษ์ โฆษิตานนท์ ซึ่งเมื่อได้รับทราบข่าวก็ได้แสดงเจตนาร่วมทำบุญทุนประเดิมเป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาท พร้อมกับ ดร. วิศัลย์ โฆษิตานนท์ บุตรชายอีก สองแสนบาท
โครงการจัดสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ จึงได้เริ่มประกาศต่อสาธารณะในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำตามประเพณีประจำปี ๒๕๕๒ ณ สวนสาธารณะเพชบุระ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ท่านเจ้าคุณพระเทพรัตนกวี ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธินายก และดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ได้สนทนาร่วมกันผ่านวิทยุกระจายเสียงว่า สมควรที่จะสร้างพุทธอุทยาน ของจังหวัด เพชรบูรณ์ เพื่อเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีที่สำคัญตามประเพณีและ เป็นจุดรวมศรัทธาของชาว เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชน โดยมีพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในพุทธอุทยาน ซึ่งก็ได้รับการเห็นชอบและสนับสนุนจาก พระธรรมวราลังการและพระสังฆารักษ์ปารมี สุรยุทโธ จากนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ก็ได้ลงนามแต่งตั้งกรรมการชุดต่าง ๆ ไว้เพื่อดำเนินการดังกล่าวก่อนที่ท่านจะย้ายไปรับราชการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เมื่อนายธวัชชัย เทิดเผ่าไทย ได้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ ก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องโดยประชุมร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชน จังหวัด เพชรบูรณ์ พิจารณาแล้วจึงมีมติเห็นชอบให้จัดสร้างพุทธอุทยานขึ้นเพื่อ เป็นโครงการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษาใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ที่ดินราชพัสดุข้างสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จ. เพชรบูรณ์ อันเป็นทำเลที่เด่นเป็นสง่าและเป็นมงคลต่อบ้านเมือง บริเวณริมทางหลวงหมายเลข ๒๑ มีเนื้อที่ ๑๖-๐-๑๘ ไร่ ด้านหลังมีสระน้ำขนาดใหญ่ ๘๐ ไร่ เชื่อมโยงไปยังแม่น้ำป่าสักสายเก่า ซึ่งเป็นลำน้ำตามตำนานที่พบองค์พระพุทธมหาธรรมราชาครั้งแรก และให้ใช้ชื่อว่า “พุทธอุทยานเพชบุระ” โดยมีพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร ประดิษฐานเป็นองค์ประธาน ณ ให้ใช้นามองค์พระเป็นทางการว่า “ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ”
พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ หล่อด้วยโลหะทองเหลืองบริสุทธิ์ มีความคงทนถาวรนับพันปี ประดับด้วยฉัตร มีช่องที่พระเศียรเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดหน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร มีความหมายว่า
๑ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เอก หนึ่งในดวงใจของชนชาวไทย
๑ หมายถึง พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในโลก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เพชรบูรณ์ เป็นองค์พระที่อัญเชิญมาประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของเมือง เพชรบูรณ์ ๙ หมายถึง รัชกาลที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
๘๔ หมายถึง วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา
ในปีต่อมา ด้วยความศรัทธาและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการริเริ่มโครงการของท่านนาย กองเอก วิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ จึงได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ดลบันดาลให้ ท่านได้กลับดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ อีกครั้ง เพื่อมาสร้างกุศลครั้งใหญ่ร่วมกับชาว เพชรบูรณ์ ให้สำเร็จ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ได้ทุ่มเท ลงมือระดมสรรพกำลังทุกฝ่ายและเร่งมือดำเนินการทันทีที่ท่านได้เข้ารับ ตำแหน่งอีกครั้ง ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “หนึ่งเดียวในไทย ร่วมใจถวายองค์ราชัน” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้ โดยทำการลงนามในสัญญากับโรงหล่อพระพุทธรังษี นครปฐมในวันที่ ๔ พ.ย.๒๕๕๓ และเริ่มหล่อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากนั้นทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๔ ทำพิธีอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา องค์ที่อัญเชิญไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำไปประดิษฐานยังอำเภอทุกอำเภอใน จังหวัด เพชรบูรณ์ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในครั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เม.ย. – ๔ พ.ค. ๒๕๕๔ ทำพิธีหล่อปลายยอดจุลมงกุฎทองคำหนัก ๑๒๖ บาทเมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๔ พิธีต้อนรับชิ้นส่วนองค์พระ ฯ สู่จังหวัด เพชรบูรณ์ ในวันที่ ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๔ พิธียกชิ้นส่วนแรก คือหน้าตักส่วนกลางขึ้นประดิษฐานในวันที่ ๒๘ ก.ค. ๒๕๕๔ และพิธียกปลายยอดฉัตรเมื่อวันที่ ๑๒ ส.ค. ๒๕๕๔ และที่สุดแห่งมหามงคลคือ ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจาก ๙ ประเทศไว้ที่ปลายยอดจุลมงกุฎและเบิกพระเนตรองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระ เกียรติ ฯ ณ พุทธยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์ หลังจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ได้ทำการอัญเชิญปลายยอดทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดจุลมงกุฎ ซึ่งนับได้ว่า ได้ทำการประกอบครบทุกชิ้นส่วนเป็นองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดยบริบูรณ์
สิ่งที่น่าปิติประการหนึ่ง คือ แรงศรัทธาของประชาชนต่อองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ที่สามารถระดมเงินทุนก่อสร้างองค์พระฯ (ไม่รวมอาคารฐานและภูมิทัศน์) ได้ด้วยเงินบริจาคของประชาชนทั้งสิ้นเป็นเงินกว่า ๓๐ ล้านบาท โดยไม่ใช่งบประมาณจากทางราชการเลย
นับว่าเป็นปาฏิหาริย์ประการหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ โดยภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี นับตั้งแต่เดือน ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา จนถึงเดือน กันยายน ๒๕๕๔ โครงการอันยิ่งใหญ่ คือ องค์พระ ฯ หน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร สูง ๑๖.๕๘๙๙ เมตร สูงจากพื้นดิน ๓๕ เมตร หนักกว่า ๔๕ ตัน ได้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงไปเป็นอย่างดี รวมทั้งได้ก่อสร้างแท่นรององค์พระเป็นศิลปะลพบุรี ลายบัวคว่ำบัวหงายและลายหน้ากระดาน ด้านหน้ามีผ้าทิพย์ประดับตราสัญลักษณ์ ๘๔ พรรษา โดยตั้งอยู่บนฐานอาคารคอนกรีตขนาดใหญ่ รอบฐานมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นภาพสิ่งต่าง ๆ ที่สื่อถึงน้ำตามตำนานการพบองค์พระพุทธมหาธรรมราชาในลำน้ำป่าสัก บนฐานมีลานขนาดใหญ่สำหรับประชาชนเพื่อสักการะและประกอบพิธีทางศาสนา ภายในอาคารจัดเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ใต้ฐานองค์พระ ฯ มีดินศักดิสิทธิ์จากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด เพชรบูรณ์ มาบรรจุรวมไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน และยังได้จำลอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเกจิอาจารย์พระเถระ ที่พุทธศาสนิกชนนับถือมาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่แห่งนี้ด้วย
นอกจากนั้น บริเวณพุทธอุทยานเพชบุระ จะมีสถานปฏิบัติธรรม วิทยาลัยสงฆ์ ศูนย์เครือข่ายการท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศ เกาะกลางน้ำ มีภูมิทัศน์ร่มรื่น และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อันจะเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนและจุดท่องเที่ยวที่สวยงามและสมบูรณ์ แบบ ส่วนการดูแลรักษาและบริหารกิจการต่าง ๆ ของพุทธอุทยานเพชบุระและองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ก็เป็นหน้าที่ของมูลนิธิพระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ องค์กรสาธารณะกุศลที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา
พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็น “มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ ” อัน งดงาม ยิ่งใหญ่ มั่นคงถาวร วัฒนาสถาพรและเป็นมงคลแก่บ้านเมืองและผู้มีส่วนร่วมทุกคน อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นจุดรวมใจของคน เพชรบูรณ์ ทั้งปวง ทั้งนี้ เกิดการร่วมแรงร่วมใจของคน เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชนทั้งมวลโดยได้มีการระดม ทุนบริจาคในการก่อสร้างร่วมกับจังหวัด เพชรบูรณ์ หน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน นับว่าจะเป็นการร่วมแรงร่วมใจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของจังหวัด เพชรบูรณ์ และจะต้องถูกจารึกจดจำไปนานแสนนาน
ขอขอบพระคุณ
บทความของ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์
ประวัติความเป็นมาของหอประวัติศาสตร์เพชบุระ หรือ สวนสาธารณะเพชบุระ ตั้งอยู่ ณ.ถนนเพชรเจริญ เป็นสวนสาธารณะใจกลางเมือง ซึ่งได้ปรับปรุงจากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเดิม อันประกอบด้วย ลานอเนกประสงค์ ห้องออกกำลังกาย หอเกียรติยศบุคคลสำคัญจังหวัด เพชรบูรณ์ มีการจัดแสดงภาพเก่าเล่าอดีตและอาคารแสดงวิถีชีวิตภูมิปัญญาชาว เพชรบูรณ์ พร้อมทั้งมีสนามเด็กเล่น ตลอดจนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัด เพชรบูรณ์ ความสำคัญของเมืองนครบาล เพชรบูรณ์ และวัตถุโบราณสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบและได้รับบริจาคจากบุคคลทั่วไป เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
พุทธอุทยานเพชรบุระประชาชนชาวจังหวัด เพชรบูรณ์ พร้อมใจกันจัดสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาจำลององค์ใหญ่ หล่อด้วยทองเหลืองขนาดหน้าตักกว้าง 11.984 เมตร ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จ. เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ใีนปี พ.ศ.2554 หน้าตัก 11984 มีความหมาย คือเลข 1 ตัวแรก หมายถึง ในหลวงเป็นหนึ่งในดวงใจคนไทยทั้งประเทศเลข 1 ตัวที่สอง หมายถึง พระพุทธมหาธรรมราชามีหนึ่งเดียวในโลกเลข 9 หมายถึง รัชการที่ 9 เลข 84 หมายถึง ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษาพระพุทธมหาธรรมราชาองค์จำลองมีน้ำหนักประมาณ 60 ตัน พุทธอุทยานเพชบุระใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน หย่อนใจในมิติธรรมะของประชาชน พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เพชรบูรณ์ โดย ประชาชนให้ความเคารพ ศรัทธาองค์พระพุทธมหาธรรมราชาได้หล่อขึ้นที่ โรงหล่อพุทธรังสี นครปฐมและมีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ ขึ้นประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเพชรปุระ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงามสาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา"การเดินทางพุทธอุทยานเพชรปุระอยู่ บนถนนหมายเลข 21 สระบุรี หล่มสักอยู่ใกล้ตัวเมือง จ. เพชรบูรณ์
คำขวัญประจำจังหวัด
"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"
ตราประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์" |
ความหมายของตราประจำจังหวัด ความหมายเกี่ยวกับเพชร มีความหมาย 2 ประการ |
ประการที่ 1 เนื่องจากจังหวัดชื่อเพชรบูรณ์ ซึ่งแปลว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเพชร และมีผู้เคย ขุดพบหินที่มีความแข็ง มากกว่าหินธรรมดา มีประกายแวววาวสุกใส เหมือนเพชรขุดได้ในเขตบ้านทุ่งสมอ นายาว อำเภอหล่มสัก หินที่ขุดได้นี้ เรียกกันว่า “เขี้ยวหนุมาณ” ซึ่งถือว่าเป็นหิน ตระกูลเดียวกันกับเพชร แต่มีความแข็งน้อยกว่าเพชร มีผู้เชื่อว่าเขี้ยวหนุมาณนี้ ถ้าทิ้งไว้ตามสภาพเดิมนานต่อไปอีกประมาณ 1,000 ปี จะกลาย เป็นเพชรจริง ๆ ได้และนอกจากนี้ยังมีผู้เชื่อว่า ภูเขาชื่อ “ผาซ่อนแก้ว” ในเขตอำเภอหล่มสักมีเพชร จึงตั้งชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว” |
ประการที่ 2 เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ไม้สักในดินมีแร่ธาตุที่มีค่า ตนประมาค่ามิได้ ซึ่งนับว่ามีค่าสูง เช่นเดียวกันกับค่าของเพชรทีเดียวและปรากฏกว่าในเขตตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำบ่อคำ” ซึ่งมี ประวัติว่าเคยเป็นที่ตั้งโรงหล่อ แร่ทองคำของฝรั่งชาวยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ มีซากวัตถุก่อสร้างปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ความหมายเกี่ยวกับภูเขา เนื่องจากด้วยพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขามากมายสลับซับซ้อนเป็นทิวเขาเทือกใหญ่เรียกว่า “เทือกเขาเพชรบูรณ์”ความหมายเกี่ยวกับไร่ยาสูบ |
เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มียาสูบพื้นเมืองพันธุ์ดีเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่นานมาแล้ว มีรสเป็นเลิศกว่ายาสูบ ที่อื่น ทั้งหมดของเมืองไทย ยาสูบพันธุ์ดี ที่มีชื่อเสียงนี้ ปลูกได้ผลที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ แต่ในปัจจุบันนี้ยาสูบพื้นเมืองชนิดนี้มี น้อยลง เพราะราษฎรชาวบ้านกลับมานิยมปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์ เพื่อบ่มให้แก่สำนักงานไร่ยาสูบ เพราะได้ราคาดีกว่ายาสูบพื้นเมือง |
ธงประจำจังหวัด

พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ "นิทานโบราณคดี" นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัด เพชรบูรณ์ ชื่อพันธุ์ไม้ มะขาม
ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน
ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ : ดอกมะขาม
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ ส่วนที่กว้างที่สุดของจังหวัด จากด้านตะวันออกถึงตะวันตก กว้าง 55 ก.ม.ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากเหนือสุดถึงใต้สุด ยาว 296 กม. สูงจากระดับทะเล ประมาณ 114 เมตร อยู่ห่างกรุงเทพ 346 ก.ม. ตามทางหลวงหมายเลข 21
อาณาเขต
อาณาเขตติดต่อของจังหวัดทั้ง 4 ด้าน
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเลย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ และพิจิตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเลย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ และพิจิตร
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยภูเขาเพชรบูรณ์ เป็นรูปเกือกม้า รอบพื้นที่ด้านเหนือของจังหวัด เป็นแนวขนานกันไปทั้งสองข้าง ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและอำเภอด้านใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ลาดชันจากเหนือลงใต้ มีพื้นที่ป่าไม้ 3,624,830 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.78 มีแม่น้ำป่าสัก เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของจังหวัด ไหลผ่านตอนกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากภูเขาผาลาในจังหวัดเลย มีห้วยลำธารหลายสายเกิดจากภูเขาเพชรบูรณ์ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ บึงสามพัน วิเชียรบุรี และศรีเทพ
ภูมิอากาศ
เนื่องจากพื้นที่จังหวัด มีภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอน้ำหนาว เขาค้อ และหล่มเก่า จะมีอากาศหนาวที่สุด และบนพื้นที่ภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนและฤดูฝน จะมีอุณหภูมิ 20-24 องศา ฤดูร้อนเริ่มในเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี
ทรัพยากรธรรมชาติ
จังหวัดเพชรบูรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลายชนิด ดังนี้
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเชิญ ลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายต่าง ๆ
2. ป่าไม้ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ 2,006.51 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่จังหวัด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง สวนรุกขชาติ 3 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง สามารถจำแนกตามเขตการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ได้แก่ เขตเพื่อการอนุรักษ์ เขตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 58.59 28.67 และ 6.67 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด ตามลำดับ
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเชิญ ลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายต่าง ๆ
2. ป่าไม้ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ 2,006.51 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่จังหวัด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง สวนรุกขชาติ 3 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง สามารถจำแนกตามเขตการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ได้แก่ เขตเพื่อการอนุรักษ์ เขตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 58.59 28.67 และ 6.67 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด ตามลำดับ
แสดงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ย้อนหลัง
10 ปี ระหว่างปี 2533 - 2542 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบูรณ์ |
จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ลักษณะทางกายภาพนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอนๆสลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า[๑] มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
กล่าวถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์นั้นเริ่มจาก ชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อครั้งโบราณน่าจะชื่อว่าเมือง “เพชบุระ” ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาแปรเปลี่ยนเป็น “เพชรบูรณ์” กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
จากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่ามีร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมา จนกระทั่งถึงในสมัยประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการใช้ตัวอักษรในการบันทึก สื่อสารและถ่ายทอดนั้น พบว่ามนุษย์ในสมัยนั้น มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ในถ้ำเพิงผา รู้จักเพาะปลูกพืชบางชนิด เลี้ยงสัตว์ มีเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆ เชื่อในเรื่องธรรมชาติ และมีประเพณีการฝังศพ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่และมีเทคโนโลยีในการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นลำดับ
บริเวณที่ปรากฏร่องรอยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น พบหลายพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ ด้านทิศตะวันตกที่อำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน พบเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินขัด เช่น กำไลหิน และขวานหิน กำหนดอายุอยู่ในราว ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ด้านทิศใต้ที่อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และที่อำเภอศรีเทพ ซึ่งมีเมืองโบราณศรีเทพ เป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งเป็นเมืองโบราณในยุคต้นประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุเก่าแก่ไปกว่า ๒,๐๐๐ ปี และยังถือได้ว่าแหล่งโบราณคดีที่พบบริเวณนี้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชุนชนโบราณในจังหวัดลพบุรีและบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักอีกด้วย
บริเวณด้านทิศเหนือที่อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ในปัจจุบันได้พบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน ทั้งชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ที่ฝังร่วมกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับทำจากโลหะ แก้ว หิน และพบตะกรันโลหะ[๒] ซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านโลหกรรมในพื้นที่แถบนี้
ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษรแล้ว ได้ถือว่าเข้าสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยอาจเริ่มนับตั้งแต่ สมัยที่รับวัฒนธรรมทวารวดี หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในช่วงนี้ได้แก่ที่เมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และมีร่องรอยการติดต่อสัมพันธ์กับแหล่งชุมชน ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบทวารวดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา มีศาสนสถานที่เป็นสถูปเจดีย์เนื่องในศาสนาพุทธ เช่น เขาคลังใน และเขาคลังนอก โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ทั้งธรรมจักร พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์จำนวนมาก มีจารึกอักษรปัลลวะและหลังปัลลวะ จารึกเนื้อหาเกี่ยวศาสนาเป็นส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
ในช่วงประมาณ ๘๐๐ – ๙๐๐ ปีมาแล้ว อิทธิพลของเขมรได้แผ่มาถึงเมืองศรีเทพเช่นเดียวกันกับ เมืองโบราณในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย มีรูปเคารพและปราสาทอิทธิพลเขมรสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู เช่น ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ฤาษี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งเขมรที่แผ่ขยายอำนาจมาถึงยังดินแดนแถบนี้ เมืองศรีเทพก็เจริญอยู่เป็นช่วงสุดท้าย และหลังจากนั้นร่องรอยของเมืองเมืองนี้ก็ได้ขาดหายไป
ในช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นด้านตะวันออกเฉียงใต้ พ่อขุนรามคำแหงได้แผ่ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการแผ่ขยายมาถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของสุโขทัย ตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ วัดอโศการาม ด้านที่ ๒ พ.ศ.๑๙๔๙
จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ คำว่า “ลุมบาจาย” นั้น เชื่อว่าได้แก่เมืองหล่มเก่า และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ คำว่า “วัชชปุระ” เชื่อว่าเป็นเมืองเพชรบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าอาณาเขตของกรุงสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย (พ.ศ.๑๙๑๑) มีเมืองเพชรบูรณ์เป็นรัฐสีมา[๓]
ก่อนที่กรุงสุโขทัยจะรุ่งเรืองขึ้นมานั้น จารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) ได้ปรากฏชื่อ พ่อขุนผาเมือง(โอรสพ่อขุนนาวนำถุม ผู้ครองเมืองราด) ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว ทำการยึดเมืองสุโขทัยคืนจากขอมสมาสโขลญลำพง และได้ให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยต่อไป ชาวเพชรบูรณ์จึงเคารพนับถือและได้สร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้ที่อำเภอหล่มสัก เพื่อรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์สืบไป
หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดว่า "เมืองเพชรบูรณ์" เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ของวัดมหาธาตุเมืองเพชรบูรณ์ เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุของสุโขทัย เมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้พบศิลปวัตถุมากมาย เช่น เครื่องสังคโลกของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน
ในสมัยอยุธยา เมืองเพชรบูรณ์ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ในช่วงพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ -๒๐๓๑) ได้กล่าวถึงศักดินาข้าราชการที่มียศสูงสุด มีศักดินาหนึ่งหมื่น หนึ่งในนั้น ได้แก่ พระยาเพชรรัตน์สงคราม (ประจำเพชรบูรณ์) และในช่วงเวลาเดียวกัน เมืองศรีถมอรัตน์ (ศรีเทพ) ขึ้นทำเนียบเป็นหัวเมืองรวมอยู่ด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นที่ พระศรีถมอรัตน์ ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์ ซึ่งเป็นเขาสำคัญของเมือง เมืองเพชรบูรณ์ยังถูกกล่าวถึงอีกหลายครั้งในฐานะหัวเมืองสำคัญ ดังปรากฏในพงศาวดารไทยรบพม่า สรุปความได้ว่าในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ถูกพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาตี ได้มีกองทัพจากพระไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ในฐานะพันธมิตร ยกทัพมาช่วยทางด่านนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์
ในสมัยพระมหาธรรมราชา เกิดเหตุการณ์พระยาละแวกเจ้าแผ่นดินเขมร ยกทัพมารุกรานหลายครั้ง ในพ.ศ.๒๑๒๕ พระยาละแวกส่งทัพโดยมีพระทศราชาและพระสุรินทรราชาเข้าตีเมืองนครราชสีมา เมื่อได้แล้วจึงเตรียมเคลื่อนทัพไปตีเมืองสระบุรี ในคราวนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ให้พระศรีถมอรัตน์(เจ้าเมืองศรีเทพ สมัยนั้นเรียกว่าเมืองท่าโรง) และพระชัยบุรี (เจ้าเมืองชัยบาดาล) เป็นผู้นำกองทัพหัวเมืองเข้าร่วมขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์ว่า เมืองเพชรบูรณ์สร้างขึ้นมา ๒ ยุคบนบริเวณเดียวกัน ยุคแรกคงอยู่ในเวลาที่เมืองสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครอง เพราะสร้างเมืองเอาลำน้ำป่าสักไว้กลางเมืองลักษณะเดียวกับเมืองพิษณุโลก แนวกำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ ๘๐๐ เมตร ยุคที่ ๒ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยมีป้อมและกำแพงลักษณะเดียวกับป้อมกำแพงเมืองที่สร้างที่ลพบุรี เป็นแต่ร่นแนวกำแพงเมืองเล็กลงกว่าเดิม[๔]
สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๘ กองทัพพม่าโดยอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพมาตีกรุงธนบุรี ได้ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ตีฝ่านำทัพออกมาได้ และมาชุมนุมพักทัพสะสมเสบียงที่เมืองเพชรบูรณ์
ในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์และศรีเทพ (สีเทพ) ยังปรากฏในเอกสารสมุดไทยดำใบบอกข่าวการสวรรคตของรัชกาลที่ ๒ ในฐานะหัวเมืองขึ้นกรมมหาดไทย
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการยกฐานะของเมืองและเปลี่ยนชื่อเมืองจากศรีเทพเป็นวิเชียรบุรี และสร้างเมืองหล่มสักขึ้น โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เดิมบริเวณหล่มเก่ามี “เมืองลม” หรือ “เมืองหล่ม” ในสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองที่ชาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางมาอาศัยอยู่จำนวนมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนแปลงนามเจ้าเมืองเพชรบูรณ์และเมืองวิเชียรบุรี ซึ่งใช้ชื่อเดิมมาแต่สมัยอยุธยา
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ปี มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นมณฑล ในปีพ.ศ.๒๔๔๒ มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระเนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ การคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับเพชรบูรณ์[๕] ผู้บริหารราชการเป็นตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรก คือ พระยาเพชรรัตน์สงคราม (เฟื่อง)
พ.ศ.๒๔๔๗ ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า(หล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน[๖] จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๖ ได้ยกเลิกมณฑลต่างๆทั่วประเทศ
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีหลักฐานเอกสารแสดงให้เห็นว่า ทุกอำเภอมีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่คละกันไป ทั้งชาวจีน พม่า ลาว เขมร เงี้ยว แขก มอญ มีอาชีพทำไร่ยาสูบ ทำนา ทำไร่อ้อย และเลี้ยงไหม
ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้วางแผนการจัดสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แทนกรุงเทพฯ โดยให้กรุงเทพฯเป็นเมืองท่า ในขณะเดียวกันก็ใช้เพชรบูรณ์เป็นฐานทัพในการขับไล่ญี่ปุ่นด้วย และตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ห่างจากกรุงเทพ ๓๔๖ กิโลเมตร สามารถติดต่อกับประเทศจีนโดยผ่านพม่าและลาวได้สะดวกเช่นกัน นอกจากนี้แล้วหากเกิดเหตุการณ์ในภาวะสงคราม การขัดแย้งระหว่างประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษในขณะนั้น เพชรบูรณ์จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย แต่เนื่องจากระเบียบการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ต้องยกเลิกไป แต่อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาปรับปรุง และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งอาคารสถานที่ขึ้นมากมายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ช่วงเวลานี้ และทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้น
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๒๕ บริเวณพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ต้องการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แทรกซึมและครอบครอง มีผู้ก่อการร้ายเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล หลังจากที่สู้รบเป็นเวลา ๑๔ ปีเศษ รัฐบาลจึงได้รับชัยชนะ ปัจจุบันจึงยังมีสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์บนเทือกเขาค้อที่เคยเป็นสมรภูมิการสู้รบทางอุดมการณ์ และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมืองเพชรบูรณ์ก็มีรูปแบบการปกครองดังเช่นในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า พื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีหลักฐานการปรากฏอยู่ของชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากนั้นได้รับอารยธรรมจากภายนอก ได้แก่วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณ ทำให้ชุมชนเหล่านั้นมีพัฒนาการด้านต่างๆจนกลายเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่สืบมา เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นของกรุงสุโขทัย และในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเมืองเพชรบูรณ์และเมืองศรีเทพเป็นเมืองสำคัญและต่อเนื่องจนถึงช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเขตการปกครองอีกหลายครั้ง จนครั้งหนึ่งเมืองเพชรบูรณ์เกือบมีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยแทนกรุงเทพฯ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และหลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงพัฒนาด้านต่างๆมากมาย จนกระทั่งเป็นเมืองเพชรบูรณ์ในปัจจุบัน
นายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์
นักโบราณคดี ปฏิบัติการ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ค้นคว้าเรียบเรียง
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. (๒๕๔๑). ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๔. เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
กรุงเทพมหานคร.
กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. รุ่งศิลป์การพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงมหาดไทย. (๒๕๓๕). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบูรณ์. บริษัทฟิวเจอร์เพรส.
กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (๒๕๔๓). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์. คุรุสภาลาดพร้าว.กรุงเทพมหานคร.
จังหวัดเพชรบูรณ์. ประวัติจังหวัด. แหล่งที่มา http://www.phetchabun.go.th/data_detail.php?content_id=1.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (๒๕๕๓). รายงานการสำรวจเบื้องต้นแหล่งโบราณคดีบ้านห้วยใหญ่ใต้.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. เอกสารถ่ายสำเนา.
[๑] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว ,๒๕๔๓) , ๑.
[๒] อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ , สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี , กรมศิลปากร , รายงานการสำรวจเบื้องต้นแหล่งโบราณคดีบ้านห้วยใหญ่ใต้ , (เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ , ๒๕๕๓) (อัดสำเนา) (สรุปความ)
[๓] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , ๒๖.
[๔] ราศี บุรุษรัตนพันธุ์, “จังหวัดเพชรบูรณ์” ใน ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๔, (กรุงเทพฯ : เอ.พี. กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๑) , ๔๑-๕๔.
[๕] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , ๔๐.