มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์ | เพชรบูรณ์

มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์

มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ณ พุทธอุทยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์ [/b][/center] เพชรบูรณ์ หรือเมืองเพชบุระในอดีต เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ อันส่งผลดลบันดาลให้เมือง เพชรบูรณ์ อุดมสมบูรณ์และร่มเย็นเป็นสุขมาตั้งแต่ ครั้งโบราณกาล ภายใต้อิทธิบารมีแห่งบวรพระพุทธศาสนาและองค์สัญลักษณ์นั่นคือ พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ เพชรบูรณ์ จากหลักฐานทางโบราณคดีสองชิ้นสำคัญที่สุดของ เพชรบูรณ์ ชิ้นแรกคือ จารึกลานทองคำที่ พบในเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ได้มีการจารข้อความที่ฝากฝังให้คน เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้พบจารึกดังกล่าวให้ ช่วยกันส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยืนยงสถาพรต่อไป และชิ้นที่สองคือ เสาหลักเมือง เพชรบูรณ์ ที่เป็นศิลาจารึก ก็ได้มีการจารึกข้อความขอให้ชาว เพชรบูรณ์ ได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่จวบจนห้าพันปีให้ได้ เมื่อพุทธศักราช ลุเข้าสู่ปีที่ ๒๕๕๔ ชาว เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว นั่นคือ การประกาศบวรพระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานอย่างมั่นคงบนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ โดยการร่วมกันสร้าง“พระพุทธมหาธรรมราชา เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ปฐมบท ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ได้ไปทำบุญวันเกิดและหารือกับท่านเจ้าคุณพระวิสุทธินายก เจ้าอาวาสวัดสนธิกรประชาราม เจ้าคณะจังหวัด เพชรบูรณ์ ฝ่ายธรรมยุต โดยเห็นสมควรร่วมกันว่า จังหวัด เพชรบูรณ์ น่าจะมีการสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่เพื่อเป็นมหาพุ ทธานุสรณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาว เพชรบูรณ์ หลังจากนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ก็ได้หารือบุคคลหลายฝ่ายทั้งคณะสงฆ์ ภาคราชการและภาคเอกชน ซึ่งก็ได้มีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะมีการดำเนินการจัดสร้างและพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินการ ทุกอย่าง โดยเฉพาะนางจงรักษ์ โฆษิตานนท์ ซึ่งเมื่อได้รับทราบข่าวก็ได้แสดงเจตนาร่วมทำบุญทุนประเดิมเป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาท พร้อมกับ ดร. วิศัลย์ โฆษิตานนท์ บุตรชายอีก สองแสนบาท โครงการจัดสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ จึงได้เริ่มประกาศต่อสาธารณะในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำตามประเพณีประจำปี ๒๕๕๒ ณ สวนสาธารณะเพชบุระ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ท่านเจ้าคุณพระเทพรัตนกวี ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธินายก และดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ได้สนทนาร่วมกันผ่านวิทยุกระจายเสียงว่า สมควรที่จะสร้างพุทธอุทยาน ของจังหวัด เพชรบูรณ์ เพื่อเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีที่สำคัญตามประเพณีและ เป็นจุดรวมศรัทธาของชาว เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชน โดยมีพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในพุทธอุทยาน ซึ่งก็ได้รับการเห็นชอบและสนับสนุนจาก พระธรรมวราลังการและพระสังฆารักษ์ปารมี สุรยุทโธ จากนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ก็ได้ลงนามแต่งตั้งกรรมการชุดต่าง ๆ ไว้เพื่อดำเนินการดังกล่าวก่อนที่ท่านจะย้ายไปรับราชการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนายธวัชชัย เทิดเผ่าไทย ได้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ ก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องโดยประชุมร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชน จังหวัด เพชรบูรณ์ พิจารณาแล้วจึงมีมติเห็นชอบให้จัดสร้างพุทธอุทยานขึ้นเพื่อ เป็นโครงการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษาใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ที่ดินราชพัสดุข้างสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จ. เพชรบูรณ์ อันเป็นทำเลที่เด่นเป็นสง่าและเป็นมงคลต่อบ้านเมือง บริเวณริมทางหลวงหมายเลข ๒๑ มีเนื้อที่ ๑๖-๐-๑๘ ไร่ ด้านหลังมีสระน้ำขนาดใหญ่ ๘๐ ไร่ เชื่อมโยงไปยังแม่น้ำป่าสักสายเก่า ซึ่งเป็นลำน้ำตามตำนานที่พบองค์พระพุทธมหาธรรมราชาครั้งแรก และให้ใช้ชื่อว่า “พุทธอุทยานเพชบุระ” โดยมีพระพุทธมหาธรรมราชาองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร ประดิษฐานเป็นองค์ประธาน ณ ให้ใช้นามองค์พระเป็นทางการว่า “ พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ” พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ หล่อด้วยโลหะทองเหลืองบริสุทธิ์ มีความคงทนถาวรนับพันปี ประดับด้วยฉัตร มีช่องที่พระเศียรเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดหน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร มีความหมายว่า ๑ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เอก หนึ่งในดวงใจของชนชาวไทย ๑ หมายถึง พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในโลก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เพชรบูรณ์ เป็นองค์พระที่อัญเชิญมาประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของเมือง เพชรบูรณ์ ๙ หมายถึง รัชกาลที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ๘๔ หมายถึง วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ในปีต่อมา ด้วยความศรัทธาและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการริเริ่มโครงการของท่านนาย กองเอก วิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ จึงได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้นเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ดลบันดาลให้ ท่านได้กลับดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบูรณ์ อีกครั้ง เพื่อมาสร้างกุศลครั้งใหญ่ร่วมกับชาว เพชรบูรณ์ ให้สำเร็จ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ นายกองเอกวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ได้ทุ่มเท ลงมือระดมสรรพกำลังทุกฝ่ายและเร่งมือดำเนินการทันทีที่ท่านได้เข้ารับ ตำแหน่งอีกครั้ง ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “หนึ่งเดียวในไทย ร่วมใจถวายองค์ราชัน” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้ โดยทำการลงนามในสัญญากับโรงหล่อพระพุทธรังษี นครปฐมในวันที่ ๔ พ.ย.๒๕๕๓ และเริ่มหล่อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากนั้นทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๔ ทำพิธีอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา องค์ที่อัญเชิญไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำไปประดิษฐานยังอำเภอทุกอำเภอใน จังหวัด เพชรบูรณ์ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในครั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เม.ย. – ๔ พ.ค. ๒๕๕๔ ทำพิธีหล่อปลายยอดจุลมงกุฎทองคำหนัก ๑๒๖ บาทเมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๔ พิธีต้อนรับชิ้นส่วนองค์พระ ฯ สู่จังหวัด เพชรบูรณ์ ในวันที่ ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๔ พิธียกชิ้นส่วนแรก คือหน้าตักส่วนกลางขึ้นประดิษฐานในวันที่ ๒๘ ก.ค. ๒๕๕๔ และพิธียกปลายยอดฉัตรเมื่อวันที่ ๑๒ ส.ค. ๒๕๕๔ และที่สุดแห่งมหามงคลคือ ในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจาก ๙ ประเทศไว้ที่ปลายยอดจุลมงกุฎและเบิกพระเนตรองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระ เกียรติ ฯ ณ พุทธยานเพชบุระ จังหวัด เพชรบูรณ์ หลังจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. ได้ทำการอัญเชิญปลายยอดทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดจุลมงกุฎ ซึ่งนับได้ว่า ได้ทำการประกอบครบทุกชิ้นส่วนเป็นองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดยบริบูรณ์ สิ่งที่น่าปิติประการหนึ่ง คือ แรงศรัทธาของประชาชนต่อองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ที่สามารถระดมเงินทุนก่อสร้างองค์พระฯ (ไม่รวมอาคารฐานและภูมิทัศน์) ได้ด้วยเงินบริจาคของประชาชนทั้งสิ้นเป็นเงินกว่า ๓๐ ล้านบาท โดยไม่ใช่งบประมาณจากทางราชการเลย นับว่าเป็นปาฏิหาริย์ประการหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ โดยภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี นับตั้งแต่เดือน ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา จนถึงเดือน กันยายน ๒๕๕๔ โครงการอันยิ่งใหญ่ คือ องค์พระ ฯ หน้าตัก ๑๑.๙๘๔ เมตร สูง ๑๖.๕๘๙๙ เมตร สูงจากพื้นดิน ๓๕ เมตร หนักกว่า ๔๕ ตัน ได้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงไปเป็นอย่างดี รวมทั้งได้ก่อสร้างแท่นรององค์พระเป็นศิลปะลพบุรี ลายบัวคว่ำบัวหงายและลายหน้ากระดาน ด้านหน้ามีผ้าทิพย์ประดับตราสัญลักษณ์ ๘๔ พรรษา โดยตั้งอยู่บนฐานอาคารคอนกรีตขนาดใหญ่ รอบฐานมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นภาพสิ่งต่าง ๆ ที่สื่อถึงน้ำตามตำนานการพบองค์พระพุทธมหาธรรมราชาในลำน้ำป่าสัก บนฐานมีลานขนาดใหญ่สำหรับประชาชนเพื่อสักการะและประกอบพิธีทางศาสนา ภายในอาคารจัดเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ใต้ฐานองค์พระ ฯ มีดินศักดิสิทธิ์จากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด เพชรบูรณ์ มาบรรจุรวมไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน และยังได้จำลอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเกจิอาจารย์พระเถระ ที่พุทธศาสนิกชนนับถือมาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่แห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณพุทธอุทยานเพชบุระ จะมีสถานปฏิบัติธรรม วิทยาลัยสงฆ์ ศูนย์เครือข่ายการท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศ เกาะกลางน้ำ มีภูมิทัศน์ร่มรื่น และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อันจะเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนและจุดท่องเที่ยวที่สวยงามและสมบูรณ์ แบบ ส่วนการดูแลรักษาและบริหารกิจการต่าง ๆ ของพุทธอุทยานเพชบุระและองค์พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ก็เป็นหน้าที่ของมูลนิธิพระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ องค์กรสาธารณะกุศลที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็น “มหาพุทธานุสรณ์ บนแผ่นดิน เพชรบูรณ์ ” อัน งดงาม ยิ่งใหญ่ มั่นคงถาวร วัฒนาสถาพรและเป็นมงคลแก่บ้านเมืองและผู้มีส่วนร่วมทุกคน อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นจุดรวมใจของคน เพชรบูรณ์ ทั้งปวง ทั้งนี้ เกิดการร่วมแรงร่วมใจของคน เพชรบูรณ์ และพุทธศาสนิกชนทั้งมวลโดยได้มีการระดม ทุนบริจาคในการก่อสร้างร่วมกับจังหวัด เพชรบูรณ์ หน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทุกคน นับว่าจะเป็นการร่วมแรงร่วมใจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของจังหวัด เพชรบูรณ์ และจะต้องถูกจารึกจดจำไปนานแสนนาน ขอขอบพระคุณ บทความของ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์

Related Articels

0 ความคิดเห็น

Leave a Reply

Copyright 2012-2013 PHETBURA Blogger Template New Modify by 4x100UTD | เพชรบูรณ์ | เพชบุระ| ชุมชนออนไลน์ชาวเพชรบูรณ์ | เพชบุระดอทคอม เพชบุระดอทคอม